วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเรียน 106 วันที่ 19 เดือนมกราคม พ.ศ.2558

การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ คือ?? ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือเป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง ฉะนั้นงานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้น
ศิลปะสำหรับเด็ก
-สิ่งที่แสดงออกซึ่งความเจริญเติบโต ความนึกคิด ความเข้าใจและการแปลความหมายของสิ่งแวดล้อม
-งานศิลปะสำหรับเด็ก ไม่ใช่เพียงแค่การวาดภาพ ระบายสี หรือการประดิษฐ์สิ่งต่างๆเท่านั้น แต่หมายถึงการแสดงออก การสื่อสาร การถ่ายทอดจินตนาการที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กและสิ่งแวดล้อม
ปรัชญาศิลปศึกษา
-มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
-เป็นเครื่องมือในการแสดงออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์
-ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
-เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย
-ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่ผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น
-ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
-ช่วยเสริมสร้างหรือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด : ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวประกอบของสติปัญญา
-เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
-ความมีเหตุผล
-การแก้ปัญหา
กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา : มิติเกี่ยวกับข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด
มิติที่ 2 วิธีการคิด : มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมอง
มิติที่ 3 ผลของการคิด : มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่าประกอบด้วย
-ความคล่องแคล่วในการคิด
-ความยืดหยุ่นในการคิด
-ความริเริ่มในการคิด
แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์เป็น 5 ขั้น
1.ขั้นการค้นพบความจริง
2.ขั้นการค้นพบปัญหา
3.ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
4.ขั้นการค้นพบคำตอบ
5.ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์ นักการศึกษาและนักวิทยาศาสตร์ต่างให้ความสำคัญและสนับสนุนการทำงานของสมอง 2 ซีกอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพราะบรรดางานค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ งานสร้างสรรค์ศิลปะและความคิดแปลกใหม่ ล้วนเกิดจากการทำงานของสมองซีกขวา
ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์)
จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่ ความสามารถด้านภาษา ด้านดนตรี ด้านกีฬา ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านธรรมชาติศึกษา ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา ด้านตรรกวิทยา ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านจิตวิเคราะห์
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
-ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน
-ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้
-ปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้
ทฤษฎีโอตา (AUTA)
เดวิสและซัลลิแวน : ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตามีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธีและการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
พัฒนาการทางศิลปะ
1.ขั้นขีดเขี่ย
2.ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง
3.ขั้นรู้จักออกแบบ
4.ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ

กิจกรรมในคาบเรียน

วาดภาพหัวข้อ มือน้อยสร้างสรรค์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น